โฆษณา

List your Thailand travel business
Advertise your Thailand travel business.

โฆษณา

Thailand Golf Tours
free listing of your Asia vacation rentals home.
ประเพณีสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย

ประเพณีสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย 13 เมษายน

ประเพณีสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย วันสงกรานต์เป็นประเพณีเดือนห้าของชาวไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตในมณฑณยูนนานของจีน สงกรานต์เป็นคำสันสกฤตหมายถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับจักรราศี การเคลื่อนย้ายของราศีจะเป็นราศีใดก็ได้แต่ความหมายที่คนไทยทั่วไปใช้หมายเฉพาะวันและเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายนเท่านั้น เดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์แต่ปัจจุบันมีการกำหนดแน่นอนว่าเป็นวันที่ 13ถึง 15 เมษายนของทุกปี เป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของประเทศไทย

สงกรานต์เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจึงมีการเรียกรวมกันว่าตรุษสงกรานต์หมายถึงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ คำว่า “ ตรุษ ” เป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี

สงกรานต์ ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เข้าใจจะเป็นเทศกาลสาดน้ำ มีการละเล่นที่สนุกสนานผู้คนจะออกมาเฉลิมฉลองโดยการสาดน้ำ ตามท้องถนนจะเปียกชื้นไปด้วยน้ำและผู้คนที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและความสุข แต่การสาดน้ำก็เหมือนการเป็นขอฝน ให้ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข

วันแรกเรียกว่า “ วันมหาสงกรานต์ ” เป็นวันส่งท้ายปีเก่า เป็นวันทำความสะอาดใหญ่ ชำระร่างกายและจิตใจให้สะอาด เริ่มมีการเล่นสาดน้ำกันเป็นวันแรก และที่ประเทศไทยถือเป็นวันผู้สูงอายุด้วย

วันที่สองเรียกว่า “ วันเนา ” เป็นวันที่จะมีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมาย เช่นการขนทรายเข้าวัด การก่อเจดีย์ทราย กระบวนแห่ประเพณีสงกรานต์และงานแสดงมหรสพและก็เล่นสาดน้ำและก็เป็นวันครอบครัวของไทยอีกด้วยเป็นวันกลับบ้านเพื่อพบปะสังสรรค์กับครอบครัวญาติพี่น้อง

วันที่สามเรียกว่า “ วันเถลิงศก ” เป็นวันขึ้นศกใหม่ มีการทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ ปล่อยนกปล่อยปลาอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว สงกรานต์ตามคตินิยมโบราณนิยมการสรงน้ำพระสงฆ์ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง รดน้ำดำหัว ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือเพื่อขอขมาลาโทษและขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเป็นการเริ่มต้นปีที่ดี

ในสมัยสุโขทัย จะเริ่มมีการฉลองสงกรานต์กันในหมู่ประชาชนทั่วไป แต่ก็จะไม่มีอะไรหลากหลายอย่างเช่นทุกวันนี้ ก็จะมีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วและการแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกันข้าราชบริพารก็จะได้รับเงินปูนบำเหน็จ จนกระทั่งสมัยอยุธยา ประเพณีสงกรานต์ก็จะรวมถึงการสรงน้ำพระและการก่อเจดีย์ทราย

การก่อเจดีย์ทรายจะเป็นรูปสถูปประดับด้วยธงรูปสามเหลี่ยมหลากสีโดยมีความเชื่อว่าเพื่อเป็นการนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปเจดีย์ทรายพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ ทั้งยังเป็นกุศลบายของคนในอดีต ให้มีการรวมตัวกันของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดงานประเพณีรื่นเริง

โดยพื้นฐานประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมประชาชนมีอาชีพเกษตรกรทุกคนจะทำงานหนักกันทั้งปีไม่มีวันหยุด แต่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ทุกคนจะพร้อมกันหยุดงานเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองงานต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง มีการทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม มีการสรงน้ำพระสงฆ์ พระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองและมีการรดน้ำดำหัวเพื่อเป็นสิริมงคล

ประเพณีของการเล่นสงกรานต์ในครั้งโบราณกับปัจจุบันจะแตกต่างกันเพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลง การฉลองสงกรานต์ก็เปลี่ยนไปการเล่นสาดน้ำสงกรานต์จะถือการควรและไม่ควรไม่เชิงเป็นข้อห้าม สมัยก่อนจะมีการสาดน้ำกันด้วยขัน หรือ โอ น้ำจะผสมน้ำอบหรือน้ำสะอาดและจะไม่สาดน้ำพระสงฆ์ คนท้อง ห้างร้านต่างๆ และหลังพระอาทิตย์ตกดินทุกคนก็จะกลับบ้านและจะกลับมาเล่นสาดน้ำกันอีกครั้งก็หลังพระอาทิตย์ขึ้นของอีกวัน

งานประเพณีสงกรานต์ของชาวเชียงใหม่

หลายคนเชื่อว่างานฉลองสงกรานต์ต้องที่เชียงใหม่ แต่ก็มีการจัดงานฉลองกันทั่วทั้งประเทศโดยเฉพาะตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน ประเพณีสงกรานต์หรือที่เรียกว่า “ ปี๋ใหม่เมือง” ชาวล้านนาจะให้ความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีในหมู่คณะโดยจะจัดขึ้นในวันที่ 13-18เมษายนแต่ชาวล้านนาจะถือว่าวันที่ 15 เมษายนเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ในแต่ละวันจะมีพิธีการต่างๆดังนี้

วันที่ 13เมษายน ตามประเพณีพื้นเมืองเรียกว่า “วันสังขานต์ล่อง ” หมายความว่าวันสิ้นสุดศักราชเก่าในวันนี้จะได้ยินสียงยิงปืน จุดประทัดกันแต่เช้าเป็นความเชื่อแต่โบราณว่าเป็นการขับไล่เสนียดจัญไรต่างๆให้ล่องสังขาร มีการทำความสะอาดปัดกวาดบ้านเรือน ให้สะอาด มีการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วย

วันที่ 14 เมษายน จะเรียกกันว่า “วันเนา” หรือ “วันเน่า” ตามประเพณีถือว่าเป็นวันสำคัญและวันมงคลแก่ชีวิต จะได้ประสบแต่ความดีงามตลอดปี จะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคล ห้ามด่าทอผู้อื่นไม่งั้นจะโชคร้ายไปตลอดปี ตอนเช้าจะไปทำบุญที่วัดหรือเรียกอีกอย่างว่า “ วันดา ” ตอนบ่ายมีการขนทรายเข้าวัด เพื่อก่อเจดีย์ทรายตามลานวัดโดยเจดีย์จะก่อเป็นสถูปรูปสามเหลี่ยมตบแต่งด้วยธงทิวสีต่างๆชาวพื้นเมืองเรียกว่าตุงทำด้วยกระดาษสีทำเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยเชื่อว่าเมื่อตายไปจะพ้นจากหลุมนรกด้วยช่อตุงนี้ ส่วนการขนทรายเข้าวัดก็เพื่อเป็นการทดแทนเพราะเชื่อว่าเมื่อตนเดินผ่านเข้าหรือออกทรายย่อมจะติดเท้าออกไปนอกวัดเป็นบาปกรรม เจดีย์ทรายจะถวายทานในวันรุ่งขึ้นและจะมีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย

ในการขนทรายจะมีการเล่นน้ำเป็นที่สนุกสนานที่สุดวันหนึ่งโดยทั้งชายหญิงจะแต่งกายชุดพื้นเมือง ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสวมเสื้อแขนยาวทัดดอกเอื้องที่มวยผมผู้ชายใส่ชุดเสื้อม่อฮ่อมคล้องคอด้วยพวงมาลัยดอกมะลิถือขันหรือโอคนละใบทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใสและสนุกสนานในการขนทรายเข้าวัดและเล่นสาดน้ำกัน

วันที่ 15 หรือ “วันพญาวัน” จะมีการดำหัวหมายถึงการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือซึ่งถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวเมืองเหนือคือการพาลูกหลานญาติพี่น้องไปขอขมาลาโทษต่อผู้ใหญ่ในตอนเย็น ในตอนเช้าก็จะมีการเตรียมอาหาร คาว หวานไปถวายพระที่วัดเป็นการถวายภัตตาหารเรียกว่า “ ทานขันข้าว ” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว รวมทั้งการถวายเจดีย์ทราย ถวายช่อตุงถือว่าเป็นอานิสงส์

ประเพณสงกรานต์ของประเทศเพื่อนบ้าน

ไม่ใช่แต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีการเล่นสงกรานต์แต่ประเทศบ้านเพื่อนบ้านใกล้เคียง อย่างลาว ก็จะมีประเพณีเล่นสงกรานต์ หรือเรียกว่า “ ตรุษสงกรานต์ ” นับว่าเป็นงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดงานหนึ่ง และถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของลาวเช่นเดียวกับไทย จะมีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ขอพรผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อเป็นสิริมงคล อ่านเพิ่มเติม!

สงกรานต์ในประเทศกัมพูชา จะเริ่มกันในวันที่ 13หรือ 14เมษายนของทุกปีโดยรวมประเพณีส่วนใหญ่ก็จะคล้ายกับประเทศไทยมีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัว เพื่อความเป็นสิริมงคล การขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย พอกลางคืนก็จะมีการละเล่นพื้นเมอง อ่านเพิ่มเติม!

ในประเทศพม่า จะเรียกประเพณีนี้ว่า “ตะจังบะเว” หรือ “แหย่ตะเบง” แปลว่า “เทศกาลน้ำ” ก็จะมีพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับไทย ประชาชนจะแต่งชุดประจำชาติมาเล่นน้ำ ร้องรำทำเพลงและสรงน้ำพระ ซึ่งตามความเชื่อของชาวพม่าคล้ายกับเป็นการชะล้างบาปและสิ่งชั่วร้ายที่ผ่านมาให้ผ่านไป อ่านเพิ่มเติม!

ที่มณฑณยูนนาน “ซีซวงปันนา” หรือแคว้นสิบสองปันนาของจีน ก็มีประเพณีสงกรานต์สามวันเช่นเดียวกับไทยเรา คือวันที่ 13 ถึง15 เมษายน ตามปฎิทินเดือนห้าของชาวไต เป็นช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่ “ ซังคันปี่ไม่” ซึ่งใกล้กับคำว่าสงกรานต์ปีใหม่ ถือเป็นเทศกาลแห่งความสุขสนุกสนานของชาวไต โดยเฉพาะเทศกาลสาดน้ำ

วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า “วันตรุษสงกรานต์” หมายถึงวันสิ้นปี ตามท้องถนนจะคลื้นเคลงไปด้วยขบวนแห่ฟ้อนรำตามประเพณีของชาวเผ่า เช่นระบำกลองยาว และระบำนกยูง.

วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “วันเนา” หมายถึงความว่างเปล่าเพราะไม่มีทั้งปีเก่าปีใหม่ ชาวไตจะพักผ่อนอยู่กับบ้าน หรือไม่ก็ขึ้นป่าล่าสัตว์ รวมทั้งจะมีขบวนแห่พระพุทธรูปเพื่ออัญเชิญให้ชาวไตได้สรงน้ำกัน

วันที่ 15 เมษายนวันที่สามจึงจะถือว่าเป็นวันปีใหม่เรียกว่า “วันไปวันมา” ชาวไตจะตื่นเช้าเข้าวัดไปไหว้พระและร่วมกันก่อเจดีย์ทราย พร้อมทั้งขอพรปีใหม่ให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ อ่านเพิ่มเติม!

www.th.songkranfestival.net

แชร์